วิธีการสั่งซื้อ ปูนคอนกรีต
สั่งซื้อได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
สั่งซื้อคอนกรีต สะดวก เพียง 4 ขั้นตอนดังนี้
1. แจ้งข้อมูลมาที่ช่องทางการสั่งซื้อ
2. ทางทีมงานจะแจ้งสรุปราคาให้ลูกค้าทราบ
3. แจ้งหลักฐานการชำระเงิน
4. หลังจากชำระเงินค่าสินค้า ตามเงื่อนไข ทางทีมงานจะทำการล็อคคิวจัดส่ง
เงื่อนไขในการจัดส่ง
-
เตรียมพื้นที่ เทปูนคอนกรีตให้พร้อมก่อนรถเข้า
-
หน้าหน่วยงานจะต้องใช้คอนกรีตจะต้องหมดโม่ภายใน 120 นาที นับตั้งแต่คอนกรีตออกจากโรงงาน
หน้าหน่วยงาน ต้องเตรียมพื้นที่เพื่อเทปูนคอนกรีตให้พร้อมก่อนรถเข้า และต้องใช้คอนกรีตให้หมดภายใน 120 นาที นับตั้งแต่คอนกรีตออกจากโรงงาน
*ต้องเทปูนคอนกรีต หมดโม่ ภายใน 120 นาที หลังจากผสมเสร็จ*
ความรู้และเทคนิคเรื่อง "คอนกรีต"
คอนกรีตเป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ใน งานก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ปูนซีเมนต์ วัสดผุสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติม หรือเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น
เมื่อผสมเสร็จ คอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทําปฏิกิริยาทางเคมีกันใน ลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่า “คอนกรีต” ความ แข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่มีการผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัว ไปแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่
โดยทั่วไปแล้วคอนกรีตที่ใช้ในงานโครงสร้าง ใหญ่ ๆ ได้แก่
1. คอนกรีตล้วน (Plain Concrete) เป็นคอนกรีตอย่างเดียวที่ปราศจากวัสดุอื่นใด เหมาะสมกับโครงสร้างที่รับแรงอัดอย่างเดียว เช่น คอนกรีตที่เป็นแท่งใหญ่ (Mass Concrete) กำแพงกันดินแบบน้ำหนักถ่วง (Gravity Retainning Walls)
2. คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce Concrete) เป็นคอนกรีตที่มีเหล็กเสริมเพื่อให้สามารถรับแรงอัด และ แรงดึงมากขึ้น มักนิยมใช้ในการก่อสร้างประเภทโครงสร้างอาคาร เสา คาน พื้น และ ฐานราก ซึ่งเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน
3. คอนกรีตอัดแรง (Prestress Concrete) เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่ใช้เทคนิคลวดรับแรงดึงสูง (Tendon) และถ่ายแรงค้างไว้ในเนื้อคอนกรีต ทำให้โครงสร้างสามารถต้านทานต่อโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้
4. คอนกรีตเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตที่มีความหนาแน่น หรือ หน่วยน้ำหนักน้อยกว่าคอนกรีตที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีค่าประมาณ 400 - 1900 กก./ลบ.ม. โดยคัดเลือกวัสดุผสมที่น้ำหนักเบาพิเศษ หรืออาศัยปฏิกิริยาของผงด่างโลหะกับน้ำ ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมากในเนื้อคอนกรีต คอนกรีตจึงพองตัวและเบาขึ้น คอนกรีตเบานี้สามารถลดน้ำหนักอาคารได้มาก และ ประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้างลงได้บางส่วน
5. คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป (Precast Concrete) เป็นการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปจากโรงงาน แล้วจึงนำมาประกอบติดตั้ง ณ. สถานที่ก่อสร้าง เช่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้นสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง คานสำหรับงานสะพาน หรือ ทางด่วน
Strength หรือค่ากำลังอัดคอนกรีต คือค่าที่แสดงถึงความแข็งแรงของคอนกรีต มีหน่วยวัดเป็น แรง / พื้นที่ (กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตรหรือตัวย่อในภาษาอังกฤษคือ Ksc) โดยตัวเลขที่มากขึ้นหมายถึงค่าความแข็งแรงที่สูงขึ้น
การหาค่ากำลังอัดคอนกรีตสามารถทำได้โดยการนำชิ้นตัวอย่างคอนกรีตที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม. หรือทรงลูกบาศก์ 15x15x15 ซม. มาออกแรงกดด้วยเครื่องทดสอบจนแตก ซึ่งจะได้ค่าแรงกดออกมาเมื่อนำไปหารด้วยขนาดหน้าตัดของชิ้นตัวอย่างก็จะได้ค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีตนั่นเอง ทั้งนี้ค่า Strength จะถูกระบุในแบบก่อสร้างโดยวิศวกรโครงสร้างโดยอาคารแต่ละประเภทจะมีการกำหนดค่า Strength แตกต่างกันไปตามประเภทของอาคารและลักษณะการใช้งาน
การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้มาตรฐานนั้น กระบวนการจะเริ่มต้นจากการตรวจสอบคุณสมบัติของส่วนผสมต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อให้ได้มาตรฐาน ได้แก่ หิน ทราย ว่าเลือกมาจากแหล่งที่มีคุณภาพดีและถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นจึงนำมากองและเก็บไว้ไม่ให้ผสมกัน ส่วนปูนซีเมนต์ผง จะถูกบรรจุไว้ในไซโลหรือแท่นเก็บโดยเฉพาะอย่างมิดชิด และน้ำยาผสมคอนกรีตจะถูกบรรจุในภาชนะพิเศษเฉพาะอย่างมิดชิดด้วยเช่นกัน จากนั้นวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป
กระบวนการผลิตจะเริ่มจากการนำหิน ทราย และปูนซีเมนต์ ไปชั่งน้ำหนักโดยเครื่องชั่ง ซึ่งต้องได้น้ำหนักถูกต้องตามที่กำหนดไว้ และสิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงความชื้นของหินกับทรายด้วย เพราะหินกับทรายอาจจะไม่อยู่ในสภาพที่กำหนดไว้หรือสภาพอิ่มตัวผิวแห้ง (SSD) ซึ่งจะต้องปรับน้ำหนักหินกับทรายและน้ำให้ถูกต้องเสียก่อน ในส่วนของน้ำและน้ำยาผสมคอนกรีตจะถูกนำไปวัดปริมาตร แล้วจึงค่อยนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกันในเครื่องผสมคอนกรีต ซึ่งจะผสมคอนกรีตตามเวลาที่กำหนดด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติที่ให้ความแม่นยำ สม่ำเสมอและรวดเร็ว จากนั้นคอนกรีตที่ผ่านการผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วจะถูกลำเลียงลงสู่รถผสมคอนกรีตเพื่อนำไปยังหน่วยงานก่อสร้างต่างๆต่อไป